0

We On Web

 

การมี “ชื่อร้าน” ที่ดี เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นที่ดีอย่างแรกๆ ของธุรกิจ ได้ เพราะชื่อที่ดี คือ ชื่อที่ช่วยให้ลูกค้าจดจำธุรกิจหรือแบรนด์ของเราได้ง่าย เมื่อจำได้ก็มีโอกาสที่จะนำธุรกิจของเราไปเป็นตัวเลือกหรือบอกต่อให้กับคนอื่น ดังนั้น การ ตั้งชื่อร้าน จึงเป็นเรื่องเล็กที่เจ้าของธุรกิจให้ความสำคัญมากไม่แพ้กับเรื่องสำคัญอื่นๆ ของการทำธุรกิจ

แต่การตั้งชื่อร้านไม่มีศาสตร์บังคับตายตัว และอาศัยความคิดสร้างสรรค์มากๆ จึงมีหลายอย่างที่เจ้าของธุรกิจต้องดู เพื่อให้ได้ชื่อบริษัทหรือร้านที่โดดเด่นหรือจำง่าย หรือดีที่สุดคือ ไม่พลาดกลายเป็นชื่อที่สร้างผลเสียให้กับธุรกิจแทน

ตั้งชื่อร้าน ธุรกิจ ให้ปังตั้งแต่ออกตัว แค่ทำตาม 5 ข้อนี้!

1. สั้นและง่าย

ชื่อร้านที่สั้นและเข้าใจง่ายมีข้อดีหลายอย่างคือ จดจำง่าย ง่ายต่อการออกเสียง และทำเป็นหัวข้อบนหน้าเว็บร้านค้าออนไลน์ของเราได้ง่ายกว่าชื่อร้านยาวๆ ด้วย

แต่การตั้งชื่อร้านให้สั้นและง่ายก็ทำไม่ได้ง่ายอย่างฟังก์ชั่นของมัน เพราะทุกๆ วันมีธุรกิจเกิดใหม่ทั่วทุกมุมโลก ชื่อที่อยากตั้งอาจจะมีคนใช้ไปแล้ว หากคุณมั่นใจว่าธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่หวังเติบโตด้วยวิธีไหนเลย อารมณ์ขายของหน้าบ้านตัวเองไปตลอด ก็อาจจะไม่เป็นปัญหาอะไรหากจะใช้ซ้ำ

ทว่าผู้ทำธุรกิจจำนวนมากไม่คิดเช่นนั้น นี่จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของนักธุรกิจน้องใหม่ที่ต้องตั้งชื่อสั้นๆ ง่ายๆ ของตัวเองให้สร้างสรรค์ ติดปาก เข้าหู โดนใจให้ได้ เรามีเคล็ดลับเก็บตกเล็กๆ น้อยๆ จากธุรกิจต่างๆ ดังนี้

  • ลองใช้คำสั้นๆ ผสมกันดู อาจจะเป็นคำที่มีเสียงคล้องจองกัน เช่น “ศาลาสลัด” เป็นร้านขายสลัด ชื่อภาษาอังกฤษเขียนก็ใช้ว่า “Sala Salad” ก็ช่วยทำให้น่าจดจำมากขึ้น
  • สร้างคำใหม่ขึ้นมา หรือแผลงจากคำที่มีอยู่แล้ว Google, eBay, Skype คือ คำที่คิดขึ้นมาใหม่ ส่วนจากแปลงคำเดิมที่มีอยู่แล้วก็เช่น “โจนส์ สลัด” ร้านขายสลัดที่ใช้วิธีเล่นคำจากคำว่า โจรสลัด
  • ใช้คำที่มีความหมายส่วนตัว เช่น ชื่อเล่น ชื่อที่เรียกกันเฉพาะในกลุ่มคนสนิท หรือแม้แต่ชื่อจริงของตัวเอง การใช้ชื่อส่วนตัวเหมาะสำหรับร้านที่รู้จักกันเองในย่านนั้น ยกเว้นว่าธุรกิจนั้นจะมีสินค้าที่โดดเด่นมากจริงๆ เช่น ร้านเจ้ไฝ ร้านอาหารชื่อดังที่ได้รับการแนะนำจาก มิชลิน
ตั้งชื่อร้าน, ตั้งชื่อบริษัท, ชื่อร้านมงคล, ชื่อบริษัทมงคล, วิเคราะห์ชื่อร้าน

2. แตกต่าง

หลักการทำข้อนี้คือ สำรวจคู่แข่งของธุรกิจคุณว่าใช้ชื่ออะไรกันบ้าง แล้วค่อยตั้งชื่อของเราให้ต่างจากเขา

แต่นอกจากความแตกต่าง ชื่อควรสะท้อนจุดเด่นของธุรกิจของคุณว่าต่างจากคู่แข่งอย่างไร (เรื่องนี้เหมือนไม่สำคัญ แต่เจ้าของธุรกิจควรมีคำตอบไว้ในใจ เพราะการสร้างธุรกิจแบบที่คนอื่นทำอยู่แล้วหรือทำได้ดีอยู่แล้ว ก็เป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรทำ) และบ่งบอกว่าคุณขายสินค้าอะไร โดยไม่ให้เป็นการช่วยโปรโมทคู่แข่งของคุณ

เช่น ถ้าคุณขายเครื่องใช้ไฟฟ้า คู่แข่งของคุณมีแนวโน้มที่จะใช้คำว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า, เทค, อิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในชื่อของตัวเอง ลองเลี่ยงคำพวกนี้ และคิดหาคำอื่นที่สะดุดหูทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นกว่า เช่น “นายเล็ก ของไฟแรง” โดย เล็ก เป็นชื่อของเจ้าของร้าน

3. ใช้จดทะเบียนเว็บไซต์ได้

ได้ชื่อที่ถูกใจแล้วก็จริง ก็อย่าเพิ่งฟันธง ลองลิสต์ชื่อที่ชอบออกมาหลายๆ ชื่อ และค้นหาดูว่า มีคนใช้เป็นชื่อเว็บไซต์แล้วหรือยัง

เพราะหากคุณอยากให้ธุรกิจเติบโตมากกว่าการมีแค่หน้าร้านต่อไปในอนาคต เว็บไซต์ของร้านเป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องมี เช่น คุณเปิดร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้านำเข้าคุณภาพดีคัดเลือกด้วยตัวเองที่ชื่อ “นายเล็ก ของไฟแรง” ชื่อภาษาอังกฤษที่ทำเป็นชื่อเว็บไซต์อาจจะเป็น lekhvelectronicsupply.com (lekhv ย่อมาจาก Lek High Volt)

ลองคิดหลายๆ ชื่อแล้วนำไปเช็คดูว่ามีผู้ใช้ชื่อเหล่านี้หรือยัง รวมถึงนำไปเช็คในแพลตฟอร์มขายของหรือมาร์เก็ตเพลสต่างๆ เช่น Lazada, Shopee ฯลฯ เพื่อให้แน่ใจว่า ชื่อที่เราจะเลือกสามารถใช้ได้ในหลายแพลตฟอร์ม

ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาและความเข้าใจเรื่องการจดโดเมนสักหน่อย ซึ่งที่ WOW We On Web เรารับพัฒนาเว็บไซต์ตั้งแต่การออกแบบเว็บ การคัดสรรเฉพาะฟังก์ชั่นการใช้งานเว็บที่ร้านค้าต้องการ ไปจนถึงการจดโดเมนพร้อมจบในที่เดียว ไม่ต้องเสียเวลาทำเอง ธุรกิจของคุณไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแค่ไหน ก็สามารถมีเว็บร้านค้าออนไลน์ของตัวเองที่ครบตามความต้องการได้ เริ่มต้นเพียงแค่ 990 บาท เท่านั้นด้วย

ตั้งชื่อร้าน, ตั้งชื่อบริษัท, ชื่อร้านมงคล, ชื่อบริษัทมงคล, วิเคราะห์ชื่อร้าน

 

4. จดทะเบียนการค้าได้

ชื่อที่คิดขึ้นเอง มีเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร นอกจากจะทำให้คนจดจำเราได้ดีกว่า ยังช่วยเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์แบบไม่เจตนาด้วย เพราะหลังจากที่ ตั้งชื่อบริษัท ห้างร้านขึ้นมา เลือกแล้วก็ควรเช็คกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ของกระทรวงพาณิชย์ว่า มีผู้จดทะเบียนใช้แล้วหรือยัง

พอเราตรวจสอบก่อน รู้ก่อนก็ปรับเปลี่ยนทัน ดีกว่าใช้ไปแล้วติดขัดในการใช้จริง ข้อนี้คล้ายกันกับข้อข้างบน ต่างกันที่ข้อนี้จะโฟกัสเรื่องของละเมิดธุรกิจอื่น เดินตามกฎหมายไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลัง

5. มาจากแรงบันดาลใจ

ถ้าคิดชื่อร้านไม่ออกจริงๆ ลองดูที่อารมณ์บรรยากาศของธุรกิจ สินค้าหรือบริการที่ขาย ที่มาที่ไปของธุรกิจ จะเป็นภาษาไทยหรือต่างชาติก็ได้ (ส่วนมากนิยมใช้เป็นภาษาอังกฤษกัน)

เช่น ร้านขายเฟอร์นิเจอร์เก่าหรือวินเทจชื่อ “Yesterday Once More” ที่มาจากชื่อเพลงดังในอดีต เนื้อเพลงนี้พูดถึงการมองย้อนกลับไปในอดีตที่มีทั้งรอยยิ้มและน้ำตา ก็เข้ากันได้อย่างลงตัวกับของใช้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว เพื่อมาเจอกับผู้ใช้งานแต่ละคนที่นำมันไปตั้งอยู่ในสถานที่ใช้ชีวิตของตัวเอง

หรือ รีสอร์ทในจ. เลย ชื่อ “หลงเลย โฮม” ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเจ้าของที่พักที่มาพบที่ดินริมแม่น้ำโขงผืนหนึ่งในจ. เลย แล้วรู้สึกหลงใหลในบรรยากาศสงบร่มรื่นน่าอยู่ จึงตัดสินใจสร้างที่พักให้ผู้ที่มาพักได้อยู่ท่ามบรรยากาศที่เจ้าของที่ได้เจอมา และรู้สึกสบายเหมือนอยู่บ้าน เลยนำคำว่า หลง มารวมกับ เลย ที่เป็นชื่อจังหวัด แล้วเติมคำว่า โฮม ที่แปลว่า บ้าน เข้าไป

แนะนำ : 5 อีเมลขายของ ที่น่าคลิกอ่าน เปลี่ยนลูกค้าครั้งแรกเป็นลูกค้าประจำได้

Sales Page คืออะไร? สูตรสร้าง “หน้าขายของ” ให้ขายดีที่คนปั้นยอดขายต้องรู้

WOW ส่งท้าย

การค้นหาชื่อร้านที่ใช่สำหรับธุรกิจของตัวเอง ฟังดูเป็นงานที่ง่ายและยากก็ได้ แล้วแต่จริตของเจ้าของธุรกิจนั้นๆ ยิ่งถ้าอิงตามจริตแบบไทยด้วย ต้องมีอารมณ์ ชื่อร้านมงคล ชื่อบริษัทมงคล เข้ามาร่วมในการวิเคราะชื่์อร้านใหม่ด้วย

แต่รับรองว่า การใช้เวลาและความคิดในการเลือกเฟ้นชื่อร้านที่จำง่าย เตะหู มีความหมาย และใช้ได้จริงในทุกพื้นที่ไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ มีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณต่อไประยะยาวแน่นอน